วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

อวตาร ทวาทศ ปาง 5


อวตาร ทวาทศ ปาง 5
กลไกแห่งสมองจากอิทธิพลกลุ่มดาวแพะแคพรีคอร์น
บรูซ แกสตัน กับสมเถา สุจริตกุล ร่วมกับนักดนตรีจากวงฟองน้ำ และโชเนนไทยควอร์เตท
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2553 เวลา 16.00 – 18.00 น.
ชั้น 1 หอศิลปวํมนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

     ภาค 5 ของอวตาร ทวาทศ ซิมโฟนีแหวกแนวนำเสนอเดือนละครั้งติดต่อกันนานถึง 1 ปีเต็ม ประพันธ์สดต่อหน้าผู้ฟังโดยสองคีตกวีศิลปาธรกิตติคุณ สมเถา สุจริตกุล กับบรูซ แกสตัน

     เชิญท่านร่วมแสดงบทบาทกับสมาชิกวงฟองน้ำที่เด่นดัง ศิลปินหนุ่มน้อยแห่งวงโชเนนไทย กับมิตรสหายอีกหลากหลาย ขณะที่สมเถา สุจริตกุล กับบรูซแกสตัน ปฏิรูปจักรราศีแห่งดาวพระเคราะห์ด้วยดนตรีล้ำสมัย

ตอนเสิร์ตนี้ไม่มีการจำหน่ายบัตร
เงินบริจาคของท่านจะนำเข้ากองทุนโครงการเยาวชนของบางกอกโอเปร่าเอื้ออาทรผู้ติดเชื้อเอช.ไอ.วี. และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์

โปรดบริจาคและอิ่มเอมกับผลบุญ มีความสุขกับไวน์และเค้กสุดอร่อย และตื่นตลึงกับดนตรีที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

โลกหัวใจ โดย คุณนริศรา เพียรวิมังสา


โลกหัวใจ/ Heart Core โดย คุณนริศรา  เพียรวิมังสา

รูปแบบเทคนิค: Drawings, Oil Paintings

แนวคิดของงาน (Concept)


     เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไม่ได้ใช้เพียงเพื่อปกป้องร่างกายจากสภาพแวดล้อม แต่ยังสะท้อน  ความเป็นตัวตนและสถานภาพทางสังคมของผู้สวม ทุกวันนี้อุตสาหกรรม                        แฟชั่นสร้างสีสันให้กับชีวิตบริโภคนิยม แต่ผู้สวมใส่กลับยิ่งดูลึกลับสับสนขึ้นทุกทีฉันตั้งคำถามถึงสิ่งซึ่งซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้าของพวกเขา เมื่อพบว่ารู้จักได้เพียงแค่ผิว และหลายครั้งเสื้อผ้าก็พูดแต่เรื่องของตัวมันเอง ความรู้สึกที่ว่านี้ถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะประกอบด้วยงานวาดเส้นและจิตกรรมสีน้ำมัน.

สถานที่:
Art Republic ชั้น3 อาคารเพนนินซูล่า พลาซ่า เลขที่ 153 ถนนราชดำริ  แขวงลุมพินี  เขตปทุม กรุงเทพฯ  10330

วันเปิดนิทรรศการ:    
   วันพฤหัสที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลาตั้งแต่ 6.30 น. เป็นต้นไป

ระยะเวลาการแสดงงาน:   

ตั้งแต่วันพฤหัสที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ถึงวันที่  13 มีนาคม 2553
ทุกวันอังคาร – วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 11.00 – 19.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  โทร 02-6521801
www.artrepublicbkk.com


เพิ่มเติม : http://www.rama9art.org/artisan/2010/february/heartcore/index.html

ความทุกข์ โดย อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ



ดีโอบีหัวลำโพงแกลเลอรีจะจัดให้มีนิทรรศการศิลปะ

"ความทุกข์"
โดย อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 28 มีนาคม 2553 (พิธีเปิดจัดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เวลา 18.30 น.)
ณ ดีโอบีหัวลำโพงแกลเลอรี

ความทุกข์ คือ ความจริงอันประเสริฐเป็นหนึ่งในพระพุทธวจนะที่บอกเล่า สัจจะแห่งชีวิต และเป็นที่มาของผลงานศิลปะ Conceptual กับ ความคิดในเรื่องของความทุกข์ สื่อสารผ่านวัสดุหลากหลาย อาทิ วัสดุธรรมชาติ วัสดุสำเร็จรูป ป้ายไฟ ตัวอักษร ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ด้วยการหยิบยกธรรมะมาแสดงเป็นงานศิลปะที่มีเนื้อหาทางพระพุทธศาสนาเป็นแก่น แกน โดย อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ

ดีโอบีหัวลำโพงแกลเลอรีจึงขอความกรุณาสื่อมวลชนทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์นิทรรศการดังกล่าว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล โทร: 02-422-2092, 084-772-2887 แฟกซ์: 02-422-2091
อังคาร-เสาร์ 10.30 - 19.00 น. อาทิตย์ 10.30 - 17.30 น. (ปิดวันจันทร์)

มกราคมอำลา รงค์ วงษ์สวรรค์



เยือกเย็นเช่นเขาที่โป่งแยง

แข็งแรงและย้ำว่ายืนยัง

ทูนอินไม่สิ้นมนต์ขลัง

หนังสือหนังหายังเริง’รงค์

“มกราคมอำลา ’รงค์ วงษ์สวรรค์” Rong Wong-Savun…One For the Road

นิทรรศการภาพถ่าย ของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์  ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์และธวัชชัย พัฒนาภรณ์

ระหว่างวันที่ 9 - 30 มกราคม 2553 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


และขอเชิญร่วมส่งท้าย ส่งใจอำลากิจกรรม"มกราคมอำลา 'รงค์ วงษ์สวรรค์"



วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 ณ โถงกลาง/โรงละคร/ลานลั่นทม หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่



14.00 น.  เสวนา  "ประวัติศาสตร์ในเลนส์กล้องของ’รงค์ วงษ์สวรรค์  " โดย  มานิต ศรีวานิชภูมิ 1 ใน 100 ช่างภาพที่ดีที่สุด จากการคัดเลือกของสำนักพิมพ์ ไพดอน

16.00 น.    เสวนา “อาหารการกิน..ศิลปะการใช้ชีวิตและความรัก” ของ  ’รงค์ วงษ์สวรรค์
โดย     สุมาลี วงษ์ สวรรค์         จากสวนทูลอิน
           อ.ประมวล เพ็งจันทร์      เจ้าของเดินทางสู่อิสรภาพ
           คำ ผกา                       นักเขียนชื่อดังแห่งยุค และแม่ครัวมือละมุน

ดำเนินรายการโดย                 
           วชิรา                           ผู้ก่อการ Rabbit Hood

18.00 น.   ปาร์ตี้เคล้าเสียงเพลง “เลี้ยงส่ง ‘รงค์ วงษ์สวรรค์” โดย ญาติน้ำหมึกทั่วฟ้าเมืองไทย  กล่อมเสียงเพลงจากวง ใต้สวรรค์

รายละเอียดและกำหนดการของงาน  ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tuneingarden.com/index.php


วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

The Border Crossing Art Project



The Border Crossing Art Project

ภัณฑารักษ์: Wendy Grace Allen (นามสกุลเดิม Dawson)
ภัณฑารักษ์ร่วมในประเทศไทย: ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ
ศิลปิน: Wendy Grace Allen (นามสกุลเดิม Dawson), ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ และ Helen Stacey

ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 18.00-20.00 น.

ข้อมูลโครงการโดยสังเขป
     โครงการศิลปะ Border Crossing เป็น การศึกษาทดลองทางศิลปะเพื่อค้นหาแนวทางการทำงานร่วมกันของศิลปิน โดยที่แต่ละคนได้ทดลองทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการคิดและการสร้างสรรค์ที่มี การทับซ้อนกันหลายชั้นบนผลงานที่พิมพ์ซ้ำจากผลงานของศิลปินคนอื่นภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นการก้าวข้ามเขตแดนทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ภายใต้แนวทางการทำงานเดียวกันนี้ ศิลปินสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวเนื่องกับการถือครองที่ดิน และ/หรือ การถวิลหาทัศนีภาพของชนบทที่สูญหายไป โดยแต่ละคนก็อ้างถึงบริบททางวัฒนธรรมที่ตนเองอาศัยอยู่ โครงการนี้มีผลสรุปรวบยอดเป็นนิทรรศการและการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นิทรรศการปฐมฤกษ์จะจัดขึ้นที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปแนวคิดและวิธีการทำงาน
• การทำงานศิลปะร่วมกันเชิงทดลองระหว่างศิลปินที่มาจากบริบททางวัฒนธรรมที่ต่างกัน
• การใช้วิธีการทำซ้ำทางศิลปะเป็นเครื่องมือของการทำงานร่วมกัน
• ประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมสมัยในการสื่อสารที่ก้าวข้ามช่องว่างทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
• การประสานงานทางความคิดเกี่ยวกับหัวข้องานโดยมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมของศิลปินแต่ละคนเป็นกรอบ
• ความคิดเรื่องความเป็นต้นแบบ (Originality) การครอบครองกรรมสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ และลักษณะของแท้ (Authenticity)
• การหาทางออกให้กับความขัดแย้งระหว่างอิสรภาพในการสร้างสรรค์ของศิลปินและการเคารพผลงานศิลปินคนอื่น

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์
     เป้าหมายของ The Border Crossing Art Project คือการทำงานทดลองระหว่างศิลปินซึ่งต่างคนต่างก็มาจากบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยใช้เทคโนโลยีด้านดิจิตอลและการสื่อสารในปัจจุบันเพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในเรื่องการทำงานเชิงสร้างสรรค์ จนนำมาซึ่งนิทรรศการและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ

     ส่วนสำคัญของขั้นตอนการทำงานคือวิธีการที่ศิลปินสื่อสารข้ามความแตกต่างทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม Border Crossing ตั้งคำถามว่า ประเด็นเรื่องการเผยแพร่ข้อมูล การทำภาพซ้ำ การครอบครองกรรมสิทธิ์ และกฎหมายลิขสิทธิ์ ถูกกำหนดขึ้นและนำไปปฏิบัติอย่างไร การนำงานศิลปะที่ทำถูกซ้ำขึ้นมาใช้ เป็นการท้าทายความคิดเรื่องความเป็นของแท้และความเป็นต้นแบบของงานศิลปะ โดยตั้งคำถามว่าใครที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงและจะได้รับค่าตอบแทนจากผลงานที่สร้างขึ้นโดยศิลปินหลายคนที่ทำงานร่วมกัน ใช่ศิลปินคนแรกที่ลงมือผลิตงานหรือไม่ หรือจะเป็นศิลปินที่จ่ายค่าทำงานซ้ำ หรือคนที่ทำงานเป็นคนสุดท้าย

     ต่างกับความสัมพันธ์ฉันอาจารย์และลูกศิษย์ ศิลปินทั้งสามคนได้รับความสำคัญเท่าเทียมกันในการสร้างงาน แม้ว่าศิลปินที่ทำงานเป็นคนสุดท้ายจะมีความรับผิดชอบและอิสรภาพในการทำให้งานสำเร็จออกมาทางใดทางหนึ่งมากที่สุด สิ่งสำคัญในขั้นตอนคือความเคารพและตระหนักถึงสไตล์การเขียนภาพที่แตกต่างของศิลปินคนอื่นและความจำเป็นในการปรับตัวให้เข้ากับงาน ศิลปินแต่ละคนมีอภิสิทธิ์ที่จะเลือกว่าองค์ประกอบใดของงานที่ตนจะเก็บไว้ และส่วนใดที่จะลบทิ้งหรือปรับเปลี่ยน หรือแม้แต่จะวาดภาพทับงานทั้งชิ้นเลยก็เป็นได้ ขั้นตอนนี้ท้าทายแนวคิดของ Modernism ที่อ้างว่าศิลปินเป็น “ฮีโร่ หรือ อัจฉริยะ” โดยที่ศิลปินไม่ได้เป็นผู้สร้างหรือเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียว ยิ่งกว่านั้น ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีร่วมสมัยในการทำงานศิลปะซ้ำ ผลงานได้ถูกผลิตเพิ่มและสร้างสรรค์ต่อเติมโดยศิลปินคนต่อไป โดยยังสามารถตรวจสอบวิวัฒนาการของงานได้ คล้าย ๆ กับเป็นแผนภูมิลำดับญาติ

     นอกเหนือจากแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับขั้นตอนการสร้างงาน ศิลปินยังสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน และ/หรือการหวนคำถึงถึงทัศนียภาพชนบทที่หายไป โดยอ้างถึงบริบททางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นของศิลปิน

     ผลลัพท์ที่ ตั้งใจไว้ของนิทรรศการและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการคือการนำเสนอผลงานที่ให้ ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมในบทสนทนาที่กินพื้นที่หลายประเทศ กระตุ้นการถกเถียงเรื่องความคิดและประเด็นต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอในผลงาน ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศิลปินที่มาจากพื้นฐานทาง วัฒนธรรมที่ต่างกัน โดยผู้ชมสามารถแสดงความเห็นผ่าน http://thebordercrossingartproject.blogspot.com และใน Facebook เพื่อให้มีการโต้ตอบได้โดยตรงและร่วมพูดคุยอย่างต่อเนื่อง








หอศิลปวิทยนิทรรศน์
ชั้น 7 สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์: 0-2218-2965 โทรสาร: 0-2218-2907 อีเมล์: info.artcenterchula@gmail.com

จัดการบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กลยุทธ์การคิดจากภาพ



Visual Thinking Strategies Workshop “กลยุทธ์การคิดจากภาพ”

     ศูนย์ศิลปกรรมและกิจกรรมพิเศษ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถานกงสุลอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดการบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กลยุทธ์การคิดจากภาพ (Visual Thinking Strategies) โดย Philip Yenawine ผู้ร่วมก่อตั้ง Visual Understanding in Education-VUE อดีตผู้อำนวยการศึกษา พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ นิวยอร์ก (แปลการบรรยายโดย ดร.จิตรลดา  บุรพรัตน์)

ในวันพุธที่ 27 มกราคม 2553 เวลา 13.00-16.30 น.
ณ โรงละคร หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น    (รับจำนวนจำกัด)

Schedule:    12.30 – 13.00      Registration

                  13.00 – 13.05      Opening

                  13.05 – 14.30      Workshop by Philip

                  14.30 – 14.45      Coffee Break

                  14.45 – 16.30      (continued) Workshop by Philip

     ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-218280, 053-944833 โทรสาร 053-211724  ภายในวันที่ 26 มกราคม 2553
     กลยุทธ์การคิดจากภาพ (Visual Thinking Strategies-VTS) ใช้ศิลปะเพื่อสอนการคิด ทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการเรียนรู้ทางสายตา (visual literacy) แก่เด็ก ๆ การเจริญเติบโตถูกกระตุ้นโดยองค์ประกอบ 3 อย่าง กล่าวคือ การมองดูศิลปะที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การตอบคำถามซึ่งเน้นด้านพัฒนาการ และการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มซึ่งมีครูเป็นผู้ดำเนิน การอย่างเอาใจใส่
     ความคิดเกี่ยวกับศิลปะ หรือความคิดเชิงสุนทรีย์ เป็นสิ่งซึ่งสวยงามและซับซ้อน นักจิตวิทยา Abigail Housen ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเชิงสุนทรีย์มาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 และได้พบว่าความคิดดังกล่าวนั้นครอบคลุมถึงความรู้ความเข้าใจซึ่งนักการ ศึกษาเรียกว่าความคิดในเชิงวิพากษ์และสร้างสรรค์ การศึกษาของ Housen เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ซึ่งเป็นการวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับ VTS แสดงให้เห็นว่า VTS ทำ ให้เกิดพัฒนาการในด้านความคิดเชิงสุนทรีย์ และแสดงให้เห็นว่าปฏิบัติการเกี่ยวกับการรับรู้ด้านอื่น ๆ ก็พัฒนาการไปด้วยเช่นกันในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสังเกต การคาดการณ์ และการคิดอย่างมีเหตุผลโดยดูจากหลักฐาน มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่ามีการถ่ายโอนทักษะเหล่านี้จากการดูงานศิลปะไป ใช้กับการพิจารณาปรากฏการณ์อื่น ๆ รวมทั้งการเขียนและการอ่าน

http://www.vtshome.org/


CMU ART CENTER
หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถนนนิมมานเหมินทร์  ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  50200    โทรศัพท์ 053-218280,053 - 944833 / โทรสาร  053-218280    www.cmuartcenter.org   
E-mail  :  cmuartcenter@ finearts.cmu.ac.th
เปิดทำการ วันอังคาร - วันอาทิตย์   09.00 - 17.00 น. (ปิดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

KOKASHITA อารมณ์ขันข้ามวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น



เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญทุกท่านร่วมชม

"KOKASHITA" อารมณ์ขันข้ามวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น ผลงานความร่วมมือระหว่างนักเต้นสองชาติ

        “KOKASHITA” เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่หมายความถึงที่ว่างใต้ทางเดินรถไฟฟ้าและทางหลวงยกระดับ
 ซึ่ง ลักษณะเฉพาะนี้ก็มีในกรุงเทพฯ เช่นกัน ในการออกแบบท่าเต้นของนักออกแบบท่าเต้นและผู้กำกับที่มีชื่อเสียง ชิเงฮิโระ อิเดะ ใช้แนวคิดจากช่องว่างเล็กๆ นี้มาวาดลวดลายช่องว่างและความแตกต่างระหว่างสองวัฒนธรรม ท่าทาง การเคลื่อนไหว และเศษเสี้ยวของชีวิตประจำวันในญี่ปุ่นและไทยได้แปรเปลี่ยนเป็นการเคลื่อน ไหวเชิงละครที่ชวนหัว มีเสน่ห์อย่างน่าทึ่งและให้แง่คิด

       ชิเงฮิโระ อิเดะ นักออกแบบท่าเต้นมือรางวัล และผู้กำกับประจำคณะ Idevian Crew จะนำคณะนักเต้นจากประเทศญี่ปุ่นมาเสนอผลงานความร่วมมือกับนักเต้นชาวไทยในการแสดงแฝงอารมณ์ขันข้ามวัฒนธรรมที่มีชื่อเรียกว่า “KOKASHITA”  ให้กับผู้ชมทั้งที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ปลายเดือนมกราคม 2553 นี้

       “KOKASHITA” ชุดแรกผลิตโดย International Performing Arts Festival แสดงในเทศกาล ‘Festival/Tokyo’ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ กรุงโตเกียว หลังจากฝึกซ้อมอย่างหนักกว่า 40 วัน ระหว่างทีมนักเต้นญี่ปุ่นและหกนักเต้นไทยที่ผ่านการคัดตัวที่กรุงเทพฯ ได้แก่ คนิสร ยังเปรมปรีย์, กฤษณะ พันธุ์เพ็ง, กรกฎ พวงสวัสดิ์, คู่แฝดสาวชัญชนา-ชญานุช อรรคจิรัติกาล และ อาคิรา โหมดสกุล


เชียงใหม่
(จัดโดยเจแปนฟาวน์เดชั่น ร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
 ณ โรงละคร  หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2553  19.00 น. (ประตูเปิด 18.30 น.)
เข้าชมฟรี (เริ่มแจกบัตรที่นั่งเวลา 18.00 น.)

หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
239 ถนนนิมมานเหมินทร์  ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  50200    โทรศัพท์ 053-218280,053 - 944833 / โทรสาร  053-218280   
www.cmuartcenter.org     E-mail  :  cmuartcenter@ finearts.cmu.ac.th
เปิดทำการ วันอังคาร - วันอาทิตย์   09.00 - 17.00 น. (ปิดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ร่วมแสดงความยินดี โอภาส โชติพันธวานนท์ กับการประกวด Asian Inspiration 2009


 
โอภาส โชติพันธวานนท์ ศิลปินไทยติดอันดับ TOP TEN จาก ARTROM Gallery Rome Italy

ARTROM Gallery Rome Italy
เป็น Online Art Exhibition ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ ปี2004 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงโรม อิตาลี และมีชื่อเสียงด้านการจัดการแข่งขันประกวดงานศิลปะ
ผ่านทางอินเตอร์เน็ท (Online) เช่น TopTen /Paint, Top Ten/ Photography, Asian Inspiration 2009 ซึ่งคุณโอภาสได้เข้าร่วมการ
ประกวด Asian Inspiration 2009   และได้รับรางวัลที่ 9 จากศิลปินทั่วโลกที่ส่งผลงานเข้าประกวดในครั้งนี้ เชิญชมผลงานของ
คุณโอภาสได้ที่ www.artromgallery.com/Asian_Inspiration/ninth_place.htm
 

 
ภาพผลงานที่ได้รับรางวัล


เลื่อนละครเวที แสงศรัทธาเหนือลำน้ำเจ้าพระยา



ละครเวที  แสงศรัทธาเหนือลำน้ำเจ้าพระยา
จากเดิมแสดง  22-23-24  มกราคม  2553  นี้ ทีมงานเลื่อนการแสดงออกไปไม่มีกำหนด  เนื่องจากนักแสดงหญิงหนึ่งคนที่เล่นเป็นท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์  เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน

สถาบันปรีดี พนมยงค์  ร่วมกับ  กองทุนเสรีไทย ชมรมโดมรวมใจ และ ชมรมเพื่อนจุฬาฯในวาระเข้าสู่การครบรอบ  ๖๕  ปี  สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  ๒ ขอเชิญผู้สนใจทั่วไปฟังการเสวนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประวัติศาสตร์  หัวข้อ “เมื่อ เสรีไทย ธรรมศาสตร์ – จุฬาอาสาศึก ๒๔๘๘”

วิทยากร        ร.ต.ปราโมทย์  สูตะบุตร                 เสรีไทยสายจุฬาฯ
                  นายอุทัย  สุจริตกุล                        เสรีไทยภายในประเทศ
                  นายบุญชู  โรหิตะสุข                      เสรีไทยสายธรรมศาสตร์-จุฬาฯ
                  นายสุวรรณ  ดาราวงษ์                    เสรีไทยสายธรรมศาสตร์-จุฬาฯ
                  นายศุขปรีดา  พนมยงค์                   ทายาทเสรีไทย
                 
ดำเนินรายการโดย  สินธุ์สวัสดิ์  ยอดบางเตย

ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์  โดย  นักกิจกรรมเดือนตุลา  ธรรมศาสตร์-จุฬา
เวลา  ๑๒.๐๐  น.            เชิญรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน (ห้องโถงชั้น ๒)
เวลา  ๑๓.๐๐  น.            ลงทะเบียน
เวลา  ๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น.   เสวนา-แลกเปลี่ยนประสบการณ์

วันอาทิตย์ที่  ๒๔  มกราคม  ๒๕๕๓ ณ  หอประชุมพูนศุข  พนมยงค์

สถาบันปรีดี  พนมยงค์  ๖๕/๑  ถนนสุขุมวิท  ๕๕  (ทองหล่อ)  แขวงคลองตันเหนือ  เขตวัฒนา กรุงเทพฯ  ๑๐๑๑๐  โทรศัพท์  ๐๒-๓๘๑๓๘๖๐-๑

Email :  banomyong_inst@yahoo.com, Website :  www.pridiinstitute.com


ประกาศเดิม

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

จาก...ใต้พระบารมีแห่งมหาบุรุษ โดย คมกริช สวัสดิรมย์



จาก...ใต้พระบารมีแห่งมหาบุรุษ โดย คมกริช สวัสดิรมย์
เริ่มแสดงตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553

ณ กอสสิบ แกลเลอรี่ อาคารสีลม แกลเลอเรีย
ชั้น3 ห้อง 331 (สถานีรถไฟ BTS สุรศักดิ์)

ภาพนิทรรศการ อ้วน-แดง โดย อาทิตย์ นันทพรพิพัฒน์


Jumbo Red Queen อ้วนแดง โดย อาทิตย์ นันทพรพิพัฒน์
งานจัดถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553
ณ The Gallery B06-07 สีลมแกลอเรีย, กรุงเทพ

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่9





บรรยากาศนิทรรศการ อารยะไตร โดย ยุทธศักดิ์ ร้อยแก่นจันทร์



นิทรรศการจัดแสดงถึงวันที่ 20
ณ Artery Gallery, สีลมแกลอเรีย กรุงเทพ

สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่9










วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

นิทรรศการภาพถ่าย น้อยหน่า 4 รส



    นิทรรศการภาพถ่าย น้อยหน่า 4 รส  โดย จิรฐา นรพิทยนารถ

โดยมีแรงบันดาลใจเกิดจากการผสมผสานที่มาของเสน่ห์แห่งรสชาติอาหาร ซึ่งแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีรสชาติไม่เหมือนใคร ถ่ายทอดผ่านทางศิลปะภาพถ่าย

ณ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ห้องศิลปนิทรรศมารศี
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
เปิดให้เข้าชมทุกวัน (9:00-16:00)


     และขอเรียนเชิญท่านร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่ายหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2553 เวลา 17:30 น. ณ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด (จอดรถ ได้ที่ โรงเรียนศรีอยุธยา)

http://www.noinathephoto.com








วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

บรรยากาศนิทรรศการ "ห้วงเวลาที่หายไป" โดย เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล




ห้วงเวลาที่หายไป โดย เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล
วันนี้ จนถึง 10 กุมภาพันธ์ 2553
ที่ Ardel Gallery of Modern Art กรุงเทพ








 สามารถดูภาพนิทรรศการเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่9

ภาพบรรยากาศ "ที่นี่และหลังจากที่นี่" โดย มานพ สุวรรณปินฑะ








ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร
ระหว่างวันที่ 8-30 มกราคม 2553
วันพุธ - วันอาทิตย์ 09.00น. - 19.00น.
โทรศัพท์ 0 2282 8525

ดูผลงานเพิ่มเติมได้ที่ www.rama9art.org

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

เชิญท่านร่วมแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ปรีชา เถาทอง



เครือข่ายศิลปิน ขอเรียนเชิญท่านร่วมแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ปรีชา เถาทอง ผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2552 ในงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่อาจารย์ปรีชา ในวันพุธที่ 20 มกราคม 2553 เวลา 18.00 . ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน

นิทรรศการศิลปกรรม LUCKY BREAD โดย Miss MAYA de MONDRAGON



คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ขอเชิญผู้สนใจชมนิทรรศการศิลปกรรม

“LUCKY BREAD”

โดย Miss MAYA de MONDRAGON
นักศึกษาแลกเปลี่ยนในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย – ฝรั่งเศส
(พิธีเปิดนิทรรศการ วันพุธที่ 20 มกราคม 2553 เวลา 16.00 น.)
ณ PSG Art Gallery
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ


นิทรรศการชุดนี้ ประกอบด้วยผลงานแบบจัดวาง จำนวน 1 ชุดและผลงานจิตรกรรม ขนาดเล็ก จำนวน 20 ชิ้น
โดย Maya นักศึกษาชาวฝรั่งเศสจากสถาบัน Ecole National des Beaux-Arts de Paris [ENSBA] ได้สร้างสรรค์ผลงานขณะที่เดินทางมาศึกษาวัฒนธรรมในประเทศไทย ในระยะเวลา 3 เดือน

จัดแสดงระหว่าง 21 – 26 มกราคม 2553 เวลา 10.00 – 18.00 น.
หยุดวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตกฤกษ์

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

ศิลปะบนผนัง FOR Wall Painting Showcase



งานเปิดนิทรรศการ "ศิลปะบนผนัง FOR Wall Painting Showcase" ในวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2553 เวลา 18.30 เป็นต้นไป ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน

ภายในงานมีฉายสไลด์บันทึกการทำงานและการบรรยายของศิลปิน ฟังดนตรี ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง

FOR: Wall Painting Showcase
ศิลปะบนผนัง
สถานที่ : ห้องนิทรรศการชั้น 7
เวลาจัดแสดง : ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 มกราคม 2553
ศิลปิน : P7, ZIDS, KULT, CIDER, WUTIGORN, GIAMEEE, 01, MAMAFAKA, YUREE, MAY-T
ศิลปะที่ สด ใหม่ สื่อสารกับผู้ชมอย่างเป็นธรรมชาติคือจิตวิญญาณของ “FOR“ Wall Painting Showcase ศิลปิน 10 คนนำเสนอผลงานโดยไม่ผ่านการคัดกรองจากความคิดที่เป็นระบบแบบแผน สร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็นอิสระบนพื้นที่ว่างของหอศิลปฯ ด้วยแก่นสารของความเป็นกราฟฟิตี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมนอกกระแสอิงสัญลักษณ์ของความเป็น ขบถ ศิลปะเหล่านี้จึงมีเสน่ห์สูงสุดเมื่อได้อยู่ในพื้นที่อย่างปราศจากเงื่อนไข กฎเกณฑ์และกติกา จุดประสงค์ของงานเกิดขึ้นเพื่อศิลปินได้แสดงถึงตัวตนกับผู้ชม ผ่านงานศิลปะที่ซื่อตรงต่อความรู้สึกและบริสุทธิ์ในการแสดงออก ซึ่งเอื้อไปสู่การตีความของผู้ชมอย่างไม่มีข้อกำหนด

“FOR” Wall Painting Showcase Exhibition เป็นส่วนหนึ่งในการเปิดพื้นที่ทดลองเพื่อให้ศิลปินได้มีโอกาสแสดงผลงานสื่อ สารโดยตรงกับผู้ชม เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 มกราคม 2553 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน เวลาทำการระหว่าง 10.00 น. – 21.00 น. วันอังคาร ถึง วันอาทิตย์ ( หยุดทุกวันจันทร์ ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์หมายเลข 02-214 6630-8 ต่อ 533

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม