วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นิทรรศการวิดีโออาร์ต Survival Techniques: narratives of resistance


Survival Techniques: narratives of resistance

นิทรรศการวิดีโออาร์ต คัดสรรผลงานโดย Davide Quadrio

ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม 2554

พิธีเปิดนิทรรศการ วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 16.00-19.00 น.

นี่คือเรื่องความสุขหรือความล้มเหลว (งานของ Zhang Peili) นี่คือความทะนงตนในสายเลือดบริสุทธิ์หรือความละอายจากการเกิดมาเป็นเลือดผสม (งานของ Shen Shaomin) คุณจะรู้สึกขุ่นเคืองหรือขบขัน (งานของ Rainer Ganahl) นี่คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ชัดเจนหรือความจริงที่ไม่คาดคิด (งานของ Yang Zhenzhong) คุณจะสามารถดำรงทัศนคติที่เปิดกว้างได้ต่อไปหรือจะเปลี่ยนมามีจิตใจที่คับแคบลง (งานของ Artur Zmijewski)

ถ้อยแถลงภัณฑารักษ์
ในนิทรรศการครั้งนี้ ศิลปินได้สำรวจพื้นที่แห่งความเคลือบแคลง พรมแดนที่แบ่งกั้นและหนทางในพื้นที่นี้ งานครั้งนี้ไม่ได้นำเสนอสิ่งที่มองเห็นชัดเจน หรือปฏิกิริยาโต้ตอบธรรมดาพื้นฐาน แต่เป็นศิลปะแห่งการปกปิดที่มีความจริงแท้แอบแฝงอยู่

ขอเชิญผู้ชมทุกท่านใช้เวลาและจมดิ่งลงไปในโลกแห่งความไม่แน่นอนในนิทรรศการวิดีโอครั้งนี้ ผลงานที่จัดแสดงประกอบไปด้วยงานวิดีโอหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ สารคดี การแสดง งาน conceptual และบทสัมภาษณ์

การชมงานต้องอาศัยเวลา เราหลายคนไม่คุ้นกับการใช้เวลาและจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานอีกต่อไป เราอาศัยอยู่โลกที่บริโภคข้อมูลและภาพอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาปฏิวัติการให้ความสนใจและการอุทิศเวลาอีกครั้ง นี่ไม่ใช่การมาชมนิทรรศการเพียงผิวเผินเหมือนการไปร่วมงานสังคม แต่นิทรรศการนี้เป็นประสบการณ์ที่มีความใกล้ชิด เป็นเวลาที่หยุดนิ่ง เหมือนเช่นเวลาการสวดมนต์ภาวนา

เมื่อผมได้รับเชิญให้เป็นภัณฑารักษ์คัดสรรผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ ผมนึกถึงกรุงเทพในช่วงที่ผ่านมาและต้องการนำเสนอความสัมพันธ์ส่วนตัวต่อประเทศไทยที่ผมได้รู้จัก เมื่อมองดูประเทศไทยช่วงสองปีมานี้ ทั้งเรื่องความไม่สงบและความไม่แน่นอนทางการเมืองและสังคมต่าง ๆ ผมรู้สึกว่างานที่คัดเลือกมาในครั้งนี้มีความสำคัญและเป็นสากลมาก นิทรรศการนี้เป็นสิ่งยืนยันถึงความรู้สึกกระวนกระวายใจที่ผมเองรู้สึก และเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงรู้สึกด้วยเช่นเดียวกันในยามที่เราพูดถึงลัทธิชาตินิยม กลุ่มชนที่หลากหลาย และอำนาจที่สะท้อนผ่านพื้นที่ส่วนตัว กวีนิพนธ์ และความตายในแง่ความงาม อย่างที่ Bohumil Hrabal อธิบายไว้ในนิยายเรื่อง I served the King of England ของเขาว่า:

“แก่นแท้ของชีวิตคือ...
...การตั้งคำถามเกี่ยวกับความตาย ว่าคนเราจะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเวลานั้นมาถึง
...การตระหนักว่าความตาย หรือแท้จริงคือการตั้งคำถามตัวเองเกี่ยวกับความตาย เป็นบทสนทนาที่มาจาก “มุม” “มอง” ที่ไม่สิ้นสุดและเป็นนิรันดร์

...การแก้ปัญหาเรื่องความตายเป็นทั้งจุดเริ่มต้นของการคิดในแง่ความงามและจุดเริ่มต้นของการคิดเกี่ยวกับความงาม เพราะว่าความพยายามในการแก้ปัญหานี้เป็นการลิ้มรสความไร้แก่นสารของวิถีชีวิตของตน ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็จะมีจุดจบก่อนเวลาอันควรอยู่ดี จุดจบอันเป็นความสุขที่เกิดจากการพบกับความตายของตน ซึ่งนำความขมขื่นและความงามมาสู่มนุษย์”

ศิลปิน:
Zhang Peili, ผลงานชื่อ Happiness, 2006
Rainer Ganahl, ผลงานชื่อ I hate Marx, 2010
Yang Zhenzhong, ผลงานชื่อ I will die, 2000-2007
Shen Shaomin, ผลงานชื่อ I am Chinese 2006-2008
Artur Zmijewski, ผลงานชื่อ Them, 2007, courtesy of Vanabbe Museum

เกี่ยวกับของศิลปินโดยย่อ
Zhang Peili เป็นศิลปินวิดีโอที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งวิดีโออาร์ตของจีน” เกิดปี 1957 ใช้ชีวิตและทำงานอยู่ใน หางโจว

Rainer Ganahl ใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่นิวยอร์ค ตั้งแต่ปี 1990

Yang Zhenzhong, เกิดปี 1968 ที่หางโจว ใช้ชีวิตและทำงานที่เซียงไฮ้

Shen Shaomin เกิดปี
 1956 ที่ เฮยหลงเจียง ใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และปักกิ่ง ประเทศจีน

Artur Zmijewski เกิดปี 1966 ที่วอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ใช้ชีวิตและทำงานที่วอร์ซอ

เกี่ยวกับภัณฑารักษ์ Davide Quadrio (หรืออีกชื่อ Dadou)
Davide Quadrio เป็นนักจีนวิทยา ภัณฑารักษ์ และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ เขาก่อตั้ง BizArt ศูนย์ศิลปะไม่หวังผลกำไรแห่งแรกของเซียงไฮ้ในปี 1998 จากประสบการณ์การทำงานเป็นระยะเวลากว่าสิบปีทางด้านการข้ามวัฒนธรรม (Davide ได้รับรางวัล Young Leader for Culture in Asia จาก International Institute for Asian Studies และ Asia-Europe Foundation ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 2004) Davide ได้ร่วมมือกับ Defne Ayas ในการก่อตั้ง Arthub Asia ในปี 2007 ซึ่งเป็นการรวมตัวทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของนักคิดอิสระที่อุทิศตัวให้กับการสร้างศิลปะร่วมสมัยในประเทศจีนและทวีปเอเชีย (www.arthubasia.org) ตั้งแต่ปี 2009 Davide เป็นผู้อำนวยการก่อตั้ง FarEastFarWest บริษัทผลิตศิลปะที่ให้การสนับสนุนโครงการทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่มีความท้าทายในทวีปเอเชีย ผลงานสะสมของ FarEastFarWest เปิดให้นักวิจัย ผู้ทำงานด้านศิลปะ และประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ที่ Museum of Contemporary Photography ที่ชิคาโกได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2011 ขณะนี้ Davide พำนักอยู่ในประเทศไทยเพื่อทำงานวิจัยด้านพัฒนาการศิลปะและวัฒนธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2010 เป็นต้นมา เขาเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฟูตัน Institute of Visual Arts เซียงไฮ้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
สิริวัฒน์ โพธิ์กระเจน (เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์)
โทร. 081-629-0457 อีเมล์: siriwatpokrajen@yahoo.com, info.artcenterchula@gmail.com

หอศิลปวิทยนิทรรศน์
ชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์: 0-2218-2965 โทรสาร: 0-2218-2907
อีเมล์: info.artcenterchula@gmail.com
www.car.chula.ac.th/art
เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์: 9.00-19.00 น. เสาร์: 9.00-16.00 น.
ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

นิทรรศการศิลปะเด็ก “The Little World's Rangers”



เดอะพิคเจอร์แกลเลอรี ขอแจ้งและขอประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงงานนิทรรศการศิลปะเด็ก

“The Little World's Rangers” by The little artists themselves

พิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ เสาร์ ที่ 5 มีนาคม 2554 เวลา 13:00 น. ( โดยกิจกรรมสำหรับเด็กๆ เริ่มตั้งแต่ 10:00 น. )

“ ผู้พิทักษ์ตัวน้อย กับการนำเสนอและบอกเล่าเรื่องราว ผ่านการทำงานศิลปะ โดยเริ่มต้นที่วิธีคิดในการสร้างสรรค์โลกใบนี้ให้สวยงาม ซึ่งนำไปสู่การนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันที่ได้มีส่วนร่วมในการร่วมรักษาฟื้นฟู และแบ่งปัน ให้แก่โลกใบนี้ ด้วยสองมือน้อยๆของพวกเขา ”


เนื่องด้วยทางเดอะพิคเจอร์แกลเลอรี ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน ศิลปะเด็ก มาเป็นเวลาหลายปี ทางคณะผู้บริหารได้เล็งเห็นการพัฒนาการทางความเข้าใจ และฝีมือการสร้างสรรค์ของเด็กๆ ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้มีการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะเด็กขึ้น เพื่อเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณะชน โดยไม่แสวงหาผลกำไร อีกทั้งยังเป็นการสร้างมิติใหม่ๆ ในการทำงานศิลปะให้กับเด็กๆอีกด้วย


กิจกรรมสำหรับเด็กๆ นั้น จะเริ่มตั้งแต่ 10:00 โมง เช้าเป็นต้นไป โดยทางแกลเลอรียินดี ในการเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับเด็กๆทุกคน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

( นิทรรศการเปิดให้ชมจนถึงวัน เสาร์ ที่ 26 มีนาคม 2554 )

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่
เดอะพิคเจอร์แกลเลอรี ( เปิดทำการ วันอังคาร ถึงวันอาทิตย์ 10:00 - 19:00 น. )
หมายเลขโทรศัพท์ 02 662 8359
E-mail : art@thepikturegallery.com
หรือสามารถเยี่ยมชมเราได้ที่ www.thepikturegallery.com

“จิตร – จิตรกรรม –จิตรกร” โดย เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์



Galerie N เรียนเชิญทุกท่านเข้าชมนิทรรศการ

“จิตร – จิตรกรรม –จิตรกร” โดย เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์
24 กุมภาพันธ์ – 24 มีนาคม 2554
เปิดนิทรรศการ วัน พฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.00 น. ณ แกเลอรี เอ็น ถ. วิทยุ






















ผลงานของ เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์ ใช้รูปแบบของทิวทัศน์ในหลายประเทศที่เธอได้เดินทางไปเยี่ยมเยือน แต่มิได้ยึดถือความเหมือนจริง และ ความคมชัดของสิ่งที่เธอเห็น ทุกสิ่งถูกปรับปรุงสร้างสรรค์ขึ้น โดยที่เธอได้ใช้สีอย่างอิสรเสรีไม่มีขอบเขตจำกัด เป็นสีที่เกิดขึ้นจากจินตนาการที่เธอได้รับจากบรรยากาศรอบตัว และบางครั้งเกิดขึ้นจากส่วนลึกภายในจิตใจ เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์ ศึกษาศิลปะในเมืองไทย และ ได้ศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะใน กรุงปารีส ปัจจุบัน เธอใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศสและเดินทางเพื่อหาแรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่อง

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 086 601 7111, 02 252 1592

"สะพรั่ง" โดย ปาริชาติ ศุภพันธ์



อาร์เดลเธิร์ดเพลส แกลเลอรี มีความยินดีเรียนเชิญท่านร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนิทรรศการศิลปะ

"สะพรั่ง" โดยปาริชาติ ศุภพันธ์

*ในวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2554 เวลา 18.30 น.*
ณ อาร์เดลเธิร์ดเพลส แกลเลอรี (สุขุมวิท 55 ทองหล่อซอย 10)



นิทรรศการ "สะพรั่ง" นำเสนอผลงานจิตรกรรม, ประติมากรรม, ภาพพิมพ์และวาดเส้นที่สดใสร่าเริงด้วย
แรงบันดาลใจจากศิลปินหญิงมากความสามารถ ปาริชาติ ศุภพันธ์ ภายใต้แนวความคิดเกี่ยวกับการเสียดสี หยอกเย้ามายาคติในสังคม ที่หลอนลวงให้ผู้คนมากมายหลงใหลและปั้นแต่งตนเองเป็นตัวละคร ทั้งนางเอกแสนดีหรือนางร้ายตัวอิจฉาด้วยท่าทีเย้ายวนชวนขบขัน ผลงานของปาริชาติ ใช้ภาพเหมือนของศิลปินเองเป็นสื่อสัญลักษณ์ในการแสดงอิริยาบถต่างๆ โดยแฝงนัยของความสุขทางใจที่ได้รับมาจากความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งหลอมรวมให้เธอมีความสุขและเชื่อมั่นในตนเองหลุดพ้นจากมายาคติที่รายล้อมรอบกาย

นิทรรศการเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม - 8 เมษายน 2554 ณ อาร์เดลเธิร์ดเพลสแกลเลอรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล โทร: 02-422-2092,
084-772-2887

แฟกซ์: 02-422-2091 อังคาร-เสาร์ 10.30 - 19.00 น. อาทิตย์ 10.30 - 17.30 น.
(ปิดวันจันทร์)

เว็บไซต์: www.ardelgallery.com

"นางสงกรานต์" โดย สมภพ บุตราช



"นางสงกรานต์"

โดย สมภพ บุตราช
ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2554
พิธีเปิด**วันอังคารที่ 15 กมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.30 น

ณ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล

นิทรรศการ "นางสงกรานต์" โดย สมภพ บุตราช
นำเสนอผลงานจิตรกรรมด้วยเรื่องราวของตำนานนางสงกรานต์ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อเชิงศาสนนิทาน
และมีรากฐานจากความเป็นประเทศกสิกรรมในเมืองไทยที่อุดมสมบูรณ์มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเอื้ออิงกับธรรมชาติและสรรพชีวิต โดยใช้สัญลักษณ์ทางจิตรกรรมเป็นสื่อในการแสดงถึงความคิด ความเชื่อ และความงดงามของเทพธิดาประจำปีนามว่า กิริณีเทวี ผู้ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑาอาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืนเสด็จมาบนหลังคชสาร



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล โทร: 02-422-2092, 084-772-2887
แฟกซ์: 02-422-2091

อังคาร-เสาร์ 10.30 - 19.00 น. อาทิตย์ 10.30 - 17.30 น. (ปิดวันจันทร์)
เว็บไซต์: www.ardelgallery.com

“วิจิตรศิลป์ → สินไทย” [VIJITSILPA → SILPATHAI]



คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ขอเชิญชมนิทรรศการ “วิจิตรศิลป์ → สินไทย” [VIJITSILPA → SILPATHAI]
การแสดงศิลปกรรมในโครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย
Art Exhibition of Thai Creative Economy : Art from Thai Intelligence [ATI]
ของ อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และศิลปินรับเชิญ จำนวน 62 ท่าน อาทิ รศ.พิษณุ ศุภนิมิตร, ศ.วิโชค มุกดามณี, อ.ปัญญา วิจินธนสาร และ ผศ.ถาวร โกอุดมวิทย์

ศิลปินรับเชิญ อาทิ คุณจิตต์สิงห์ สมบุญ, คุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ และคุณวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร

นิทรรศการศิลปกรรมที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้เป็นผลงานที่ศิลปินพัฒนาต่อยอดจากโครงการศิลปกรรมสู่ชุมชน โดยการนำความรู้ที่มีอัตลักษณ์พิเศษของภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับการสร้างสรรค์อย่างเป็นเอกลักษณ์ของศิลปิน ทำให้เกิดผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ซึ่งผู้ชมสามารถนำความรู้ที่ได้มาจากการสร้างสรรค์มาปรับประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย ต่อไป
นิทรรศการ “วิจิตรศิลป์ → สินไทย” กำหนดทำพิธีเปิดนิทรรศการ ในวันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.00 น.

ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
(นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร) เป็นประธานในพิธี

นิทรรศการฯ จัดแสดงไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2554
ณ ชั้น 2 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 939 ถนนพระราม 1 วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
(เปิดให้ชมทุกวันอังคาร – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. หยุดทุกวันจันทร์)



ขอเชิญผู้สนใจ เข้าฟังการเสวนา หัวข้อ “วิจิตรศิลป์ สินไทย”
วังอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 15.00 น.
วิทยากร ได้แก่

๏ รองศาสตราจารย์พิษณุ ศุภนิมิตร

๏ คุณสมชัย ส่งวัฒนา [CEO / Art Director บริษัท At Bangkok Co., Ltd.]

๏ คุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ [Production, Design and Innovation ห้างหุ้นส่วยจำกัด เถ้าฮงไถ่]

๏ รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข (วิทยากรผู้ดำเนินรายการ)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสำนักงานเลขานุการคณะจิตรกรรมฯ
โทรศัพท์. 02-225-8991, 02-221-0820

นิทรรศการภาพถ่ายแฟชั่น “แฟชั่น3”


นิทรรศการภาพถ่ายแฟชั่น “แฟชั่น3”
18 กุมภาพันธ์ - 10 เมษายน 2554
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพฯ - สถานทูตฝรั่งเศส สมาคมฝรั่งเศส และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นำเสนอนิทรรศการภาพถ่ายแฟชั่น “แฟชั่น3” ซึ่งจะทำให้ท่านได้รู้จักกับแฟชั่นในทุกองศา ตั้งแต่รูปถ่ายแฟชั่นอันงดงาม พอร์ตเทรตของนักออกแบบเสื้อผ้าและนางแบบนายแบบชั้นนำ รวมไปถึงเรื่องราวน่าสนใจของช่างภาพแฟชั่นชั้นนำ

ประเทศฝรั่งเศสมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจาก Haute Couture (ศาสตร์แฟชั่นชั้นสูง) และแฟชั่นโชว์ สำหรับในประเทศไทยเอง ก็มีนักออกแบบเสื้อผ้าชื่อดังมากมาย ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์กับการสื่อสารที่ทันสมัย แฟชั่นได้กลายเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกชื่นชอบหลงใหลร่วมกัน และส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้ขึ้นก็คือ การถ่ายภาพแฟชั่น ซึ่งดูจะมีบทบาทมากกว่าโทรทัศน์เสียอีก ภาพถ่ายแฟชั่นต่างๆ ที่สำคัญต่อแต่ละยุคสมัยนั้นมีนับไม่ถ้วน และภาพเหล่านี้โด่งดังพอๆ กับแฟชั่นเองเสียด้วยซ้ำ แต่น้อยครั้งมากที่เราจะรู้จักช่างภาพผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายเหล่านี้ ในปีนี้ LA FETE รวมนิทรรศการย่อยไว้สามนิทรรศการด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว และนิทรรศการจะทำให้ท่านได้รู้จักกับแฟชั่นในทุกองศา ตั้งแต่รูปถ่ายแฟชั่นอันงดงาม พอร์ตเทรตของนักออกแบบเสื้อผ้าและนางแบบนายแบบชั้นนำ รวมไปถึงเรื่องราวน่าสนใจของช่างภาพแฟชั่นชั้นนำ

นิทรรศการ แฟชั่น3 เป็นชื่อที่ LA FETE ตั้งขึ้น แฟชั่น3 รวบรวมนิทรรศการ 3 หัวข้อที่เกี่ยวกับแฟชั่นไว้ด้วยกัน ได้แก่ Fashion Story (ies), Moonlight และ Samsara : ความงามแห่งวัฏชีวิต แฟชั่น3 จะทำให้ท่านค้นพบการถ่ายภาพแฟชั่นที่มีความหลากหลาย ผ่านมุมมองของช่างภาพแฟชั่นก้องทั้งฝรั่งเศส ไทย และยุโรป

Fashion Story(ies) จะพาคุณท่องเที่ยวไปในโลกแห่งความงามผ่านผลงานของช่างภาพแฟชั่นชื่อดัง 4 ท่าน ได้แก่ ฌองมารี เปรีเย่ร์ เฌราด์ อูเฟร่าด์ ฟรองซวส อุ๊กกีเย่ และดีเรก ฮัดสัน เมื่อได้ชมนิทรรศการภาพนี้แล้ว แฟชั่นฝรั่งเศสจะไม่เป็นเรื่องลึกลับสำหรับคุณอีกต่อไป เพราะคุณจะได้ชมภาพห้องทำงานของเหล่าดีไซน์เนอร์ แฟชั่นโชว์ ตลอดจนการทำงานของทีมงานหลังเวที งานแฟชั่นโชว์ต่างๆ ขณะเข้าชมนิทรรศการนี้ คุณจะรู้สึกราวกับได้ใช้ชีวิตประจำวันกับนักออกแบบและนางแบบชั้นนำของโลก เช่น อีฟ แซง โลรองต์ เคท มอส ยามาโมโตะ ลาครัวซ์ มูแกลร์ จีวองชี่ ดีออร์ คาร์ล่า บรูนี่ ชาแนล คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ แฟชั่นอเดอลี่ เดอ อีปานีมา และ เอดัวร์ จีนสตาร์ ผู้จัดนิทรรศการครั้งนี้เป็นผู้อำนวยการอาร์ตแกลอรี่ Polka ณ กรุงปารีส www.polkagalerie.com

Moonlight แสดงให้เห็นโฉมหน้าใหม่ของวงการภาพถ่ายแฟชั่น ช่างภาพฌอง ฟรองซัว เลอปาจ ได้ทำงานให้กับห้องเสื้อชั้นนำมากมาย เช่น คริสเตียน ดิออร์ กอม เดซ์ การ์ซง มาซากิ มัตซูชิม่า นิน่า ริชี่ ห้างสรรพสินค้าแพรงตองส์ และชู อูเอมูระ หนังสือระดับสากลมากมาย ดังเช่น ฮาร์เปอร์ส บาซาร์ มิกซท์ นูเมโร เพอร์เพิล และโว๊ค วิธีการถ่ายภาพแฟชั่นของ ฌอง ฟรองซัว เลอปาจนั้น มีความพิเศษ เป็นการถ่ายภาพที่คล้ายกับการสร้างงานศิลปะแบบ Plastic Arts มาก ฌอง ฟรองซัว เลอปาจ นับเป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์

Samsara: ความงามแห่งวัฏชีวิต เป็นการจัดแสดงภาพถ่ายโดยช่างภาพแฟชั่นชาวไทย นิทรรศการนี้จะเป็นส่วนเติมเต็มให้สองนิทรรศการแรก และจะทำให้ท่านรู้สึกซาบซึ้งและเข้าใจมุมองที่แตกต่างกันในเรื่องแฟชั่นของช่างภาพแฟชั่นไทยที่มีพรสวรรค์และแตกต่างไปจากฝรั่งเศส อย่าง ศักดิ์ชัย กาย ณัฐ ประกอบสันติสุข พันธ์ศิริ สิริเวชชะพันธ์ ธาดา วาริช สุรัตน์ จริยวัฒนวิจิตร จุฑารัตน์ พรมุณีสุนทร กรกฤช เจียรพินิจนันท์ และจิรวัฒน์ ศรีเลื่อนสร้อย ภัณฑรักษณ์คัดเลือกผลงาน ซึ่งเป็นบรรณาธิการแฟชั่นของนิตยสาร LIPS

ศาสนหรรษา/ SPIRITUTAINMENT


ศาสนหรรษา/ SPIRITUTAINMENT

ศิลปิน
ปราบดา หยุ่น
เมธี น้อยจินดา
กฤช งามสม
พศุตม์ กรรณรัตนสูตร
ซะการีย์ยา อมตยา
Kohei Nawa
Mai Miyake
Peggy Wauters

ภัณฑารักษ์ ปราบดา หยุ่น

งานเปิดนิทรรศการและเสวนาโดยอาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา :
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 19.00 น.

ระยะเวลาจัดแสดงนิทรรศการ: 24 มีนาคม – 15 พฤษภาคม 2554
เวลาทำการ: พฤหัสบดี -อาทิตย์ 11.00 น. – 19.00น.


100 ต้นสนแกลลอรี่และ Japan Foundation Bangkok เสนอนิทรรศการ ศาสนหรรษา โดยการแสดงผลงานกลุ่มจากหลากหลายเชื้อชาติและศาสนาโดยภัณฑารักษ์ ปราบดา หยุ่น กับการตั้งคำถามถึงบทบาทของความบันเทิงในวิถีทางศาสนา

งานแสดงครั้งนี้เปิดประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความบันเทิง ซึ่งหลายคนอาจเชื่อกันมาแต่ไหนแต่ไรว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรอยู่ร่วมกันประเด็นดังกล่าวถูกนำเสนอผ่านออกมาจากมุมมองและผลงานของศิลปินที่แตกต่างกันออกไปในหลายแขนงทางงานศิลป์ เริ่มตั้งแต่ปราบดา หยุ่น ศิลปินที่มีผลงานหลากหลายทางด้านงานเขียน เช่น บทภาพยนตร์ที่เราคุ้นเคยกันเรื่อง เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล หนังสือรวมเรื่องสั้นที่ชื่อ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้รับรางวัลซีไรท์ ในปี 2002 และที่สำคัญ เขายังเป็นภัณฑารักษ์ของนิทรรศการนี้ โดยได้เชิญชวนศิลปินต่างสาขามาร่วมแสดงผลงานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พศุตม์ กรรณรัตนสูตร ศิลปินร่วมสมัยด้านงานประติมากรรม, เมธี น้อยจินดา มือกีตาร์วง โมเดริน ด็อก, ซะการีย์ยา อมตยา เจ้าของรางวัลกวีซีไรต์จากผลงานกวีนิพนธ์ ไม่มีหญิงสาวในบทกวี, กฤช งามสมศิลปินสื่อผสมร่วมสมัยรุ่นใหม่, Peggy Wauters ศิลปินหญิง ชาวเบลเยียมที่เคยฝากผลงานศิลปะสื่อผสมไว้กับ 100ต้นสนแกลลอรี่ที่ชื่อ ''Myths and Monstrosities'' ไว้เมื่อปี2008 , Nawa Kohei ศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดของญี่ปุ่น ผู้ทำงานศิลปะร่วมสมัยและมีงานแสดงทั่วโลก และศิลปินหญิงชาวญี่ปุ่น Mai Miyake ผู้ศึกษาการทำงานศิลปะด้วยตนเองบนพื้นฐานการทำงานบนวิถีเฉพาะแบบญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเกี่ยวข้องกันระหว่างศาสนาและความบันเทิง โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวามาเป็นแขกพิเศษในครั้งนี้ในวันเปิดนิทรรศการ ( 24 มีนาคม)

ความน่าสนใจอยู่ตรงคำถามที่ถูกนำมาเป็นประเด็นและวิธีการที่สื่อออกมาผ่านการตีความวิเคราะห์จากการตั้งคำถามและแสดงออกมาในรูปแบบของงานศิลปะที่หลากหลาย รวมทั้งครั้งนี้ยังจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ชมผลงานจากชาวต่างชาติและการทำงานร่วมกันของศิลปินไทยและญี่ปุ่นที่สะท้อนมุมมองด้านศาสนาผ่านประเด็นและวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป ซึ่งสุดท้ายแล้วผู้ชมที่เข้ามาเสพงานศิลปะรวมไปจนถึงพุทธศาสนิกชนชาวไทยก็อาจได้หยุดคิดและมองเห็นประเด็นที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมและความเชื่อที่ตนเองเคยมีอยู่เพียงด้านเดียวไปในทางที่สร้างสรรค์และเปิดกว้างอย่างเป็นอิสระมากขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 100 ต้นสนแกลเลอรี่ 02684 1527

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

“ด้นสด” โดย นฤมล ปัดสำราญ


“ด้นสด” โดย นฤมล ปัดสำราญ
วันที่ 2 มีนาคม – วันที่ 8 พฤษภาคม 2554

ขอเรียนเชิญเป็นเกียรติในงานเปิดนิทรรศการ
วันพุทธที่ 2 มีนาคม 2552 เวลา 18.30 น. – 20.30 น.
ณ. ชั้น 2 หอศิลป์ สมบัติเพิ่มพูน

หอศิลป์ สมบัติ เพิ่มพูน ยินดีเสนอ “ด้นสด” นิทรรศการ ประติมากรรมโดย นฤมล ปัดสำราญ

ผลงานศิลปะของนฤมลได้แรงบันดาลใจมาจากการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งหมอลำที่มีรูปแบบการแสดงที่สนุกสนาน มีลีลาการแสดงและเสียงดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ นฤมลได้ถ่ายทอดงานประติมากรรม และ จิตรกรรมโดยการนำตัวอักษรที่มีสีสันสดใสของป้ายโฆษณาคณะเพลงลูกทุ่ง ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้าน มาดัดแปลงสร้างสรรค์เป็น งานศิลปะร่วมสมัย รูปทรงกึ่งนามธรรม ที่ยังคงถ่ายทอดจังหวะ และ ท่าทาง เอกลักษณ์ความสนุกของการแสดงพื้นบ้านหมอลำ.

“ด้นสด” คือ การละเล่นแบบหนึ่งของหมอลำที่ ผูกเรื่องบทเจรจาและบทร้อง ท่ารำการแสดงตอบโต้ของหมอลำสองวงโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน “ด้นสด” ในที่นี้ยังหมายถึง การนำประสบการณ์ของ นฤมลในระยะเวลา 3 ปี ที่เดินทางตามจังหวะ และ ท่าทางของหมอลำ เรียนรู้ถึงอุปสรรค และ ความสำเร็จในการทำงาน จนเกิดเป็นบทสนทนากับตัวเองถึงความคิดสร้างสรรค์ที่เหลืออยู่กับวัสดุที่มีใช้ และนำมาร้อยเรียงเป็นทำนองแบบ ด้นสดในงานชุดนี้

หอศิลป์ สมบัติเพิ่มพูน
เลขที่ 12 สุขุมวิท ซอย 1 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร.0.2254.6040.6 โทรสาร0.2254.6048
Email: panada@sombatpermpoongallery.com
www.sombatpermpoongallery.com

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม