วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

"คิดถึงอาจารย์ศิลป์" (ครั้งที่ 2: ปี2554)


ขอเรียนเชิญร่วมเป็นเกียรติเปิดนิทรรศการ

"คิดถึงอาจารย์ศิลป์" (ครั้งที่ 2: ปี2554)

ผลงานศิลปะ โดย ศิลปินรุ่นใหม่ กลุ่มศิษย์อาจารย์ศิลป์ พีระศรี

พิธีเปิด วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม 2554 เวลา 19.00 น
ณ พระนครบาร์ แอนด์ แกลเลอรี่
(58/2 ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. 10200)

นิทรรศการเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 14 - 31 พฤษภาคม 2554 เวลา 18.00 - 01.00 น.







ความเป็นมา
            ประเทศสยามในห้วงสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทาศิลปวัฒนธรรมอย่างยิ่ง ศิลปะในทางหนึ่งคืองานช่างฝีมือที่พัฒนาต่อมาจากอดีตแต่อีกรูปแบบได้รับอิทธิพลศิลปะแบบคลาสสิกของตะวันตก ทั้งสองแนวทางแม้ว่าจะเกิดการประยุกต์ให้อยู่ร่วมกัน ทว่าก็ไม่ได้เกิดเป็นนวัตกรรมทางศิลปะสมัยใหม่อย่างชัดเจน

            ตราบจนการเข้ามารับราชการรวมไปถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรของนายคอร์ราโด เฟโรจี หรือต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป์ พีระศรี ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทางศิลปะแบบใหม่ขึ้นในสังคมสมัยนั้น มีการเรียนรู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยเทคนิคตะวันตกผสมผสานเข้ากับวิถีแบบตะวันออกจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสมัยขึ้น ด้วยคุณูปการของศาสตราจารย์ศิลปะ พีระศรี ในทางศิลปะทั้งด้านทฤษฎีองค์ความรู้และผลงานอันเกิดจากการสร้างสรรค์ ทำให้วงการศิลปะยกย่องท่านเป็น “บิดาศิลปะสมัยใหม่ไทย”
              ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถือเป็นบุคคลสำคัญทางศิลปะในประเทศไทยที่ศิลปินไทยทุกยุคสมัยควรระลึกถึงตลอดเวลา นั่นเพราะวิถีชีวิตด้านต่างๆ ของท่านไม่เพียงทุ่มเทให้กับอุดมคติทางศิลปะเท่านั้น หากแต่ยังเป็นครูผู้ถ่ายทอดสรรพศิลปวิทยาอย่างไม่ระย่อตราบลมหายใจสุดท้าย
            ในโอกาสที่ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นี้ จะเป็นวันครบรอบถึงแก่กรรม 49 ปี ของท่าน ศิลปินรุ่นใหม่ กลุ่มศิษย์อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งเป็นทั้งกลุ่มศิษย์เก่าและกลุ่มนักศึกษาปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกันจัดนิทรรศการศิลปะขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงและบูชาศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ภายใต้นิทรรศการชื่อ “คิดถึงอาจารย์ศิลป์” ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการขึ้นเป็นครั้งที่ 2

แผนที่

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประกาศมอบ 2 รางวัล ศิลป์สันติภาพ


ในวาระครอบรอบ ๖๕ ปี แห่งวันสันติภาพไทย วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ (อันเป็นผลเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของขบวนการเสรีไทยในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ) ครบรอบ ๗๐ ปี นวนิยายเรื่อง THE KING OF
THE WHITE ELEPHANT บทประพันธ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ได้นำเอาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสงครามช้างเผือกและการทำยุทธหัตถีสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
มาผูกเรื่องขึ้นใหม่ตามจินตนาการ เพื่อการสื่อทัศนอันเกี่ยวกับสันติภาพต่อมาได้นำบทประพันธ์ดังกล่าวมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยขาว-ดำเสียงในฟิล์ม พูดภาษาอังกฤษตลอดเรื่องนำออกฉายครั้งแรกพร้อมกันที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์และที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง กรุงเทพฯ จุดประสงค์เพื่อให้โลกได้ทราบถึงจุดยืนทางสันติภาพของไทยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ จะอุบัติขึ้นในประเทศไทย
หลังจากนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เดินทางไปทำหน้าที่ในฐานะงานศิลปวัฒนธรรมสันติภาพตามประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับกันว่าภาพยนตร์ที่สร้างมาจากบทประพันธ์และอำนวยการสร้างโดย ปรีดี พนมยงค์


เรื่องนี้คืองานศิลปะเพื่อสันติภาพอันทรงคุณค่าเพื่อความผาสุกแห่งมวลมนุษยชาติ ด้วยความเป็นมาดังกล่าวฝ่ายศิลปกรรมสถาบันปรีดี พนมยงค์จึงได้มีการจัดตั้งรางวัลปีติศิลป์สันติภาพเพื่อมอบให้แก่ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ ที่ผลงานสะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับสันติภาพ

ในวาระนี้ได้พิจารณามอบรางวัลให้แก่ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านทัศนศิลป์ฝ่ายศิลปกรรมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้รวบรวมรายชื่อประวัติการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินทัศนศิลป์ที่เข้าข่ายมาพิจารณาหลายท่าน เพื่อหาผู้ที่เหมาะสม ในที่สุดเห็นควรมอบรางวัลปีติศิลป์สันติภาพนักสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านทัศนศิลป์ให้แก่

รองศาสตราจารย์กัญญา เจริญศุภกุล

รองศาสตราจารย์กัญญา เจริญศุภกุล
โดยจะมีการประกาศเชิดชูเกียรติและจัดแสดงนิทรรศการผลงานบางส่วนของศิลปินผู้ได้รับรางวัล ในวันเสาร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ นิทรรศการจัดแสดงถึงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์

ร่วมกับศิลปินผู้ได้รับรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ครั้งที่ ๓ ประจำปี ๒๕๕๔ ทัศนศิลป์ดีเด่นทางด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรม (ผู้ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์สุรพล ปัญญาวชิระ
ได้รับรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ศิลปินเกียรติยศ)

ตามที่ได้มีการจัดตั้งรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ มนัส เศียรสิงห์ “แดง” ศิลปินนักกิจกรรมขบวนการเดือนตุลา ซึ่งได้เสียสละชีวิตเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อพิทักษ์ปกป้องระบอบประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคมอย่างองอาจ กล้าหาญ รางวัลนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๔ วัตถุประสงค์เพื่อมอบให้เป็นเกียรติแก่ศิลปินทัศนศิลป์ผู้สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นทางด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรม

โดยกำหนดให้มีการมอบรางวัล ๕ ปีต่อ ๑ ครั้ง ในปี ๒๕๕๔ เป็นการประกาศและมอบรางวัล ครั้งที่ ๓ มีหน่วยงานสถาบันอุดมศึกษาองค์การ และบุคคลทั่วไป เสนอรายชื่อศิลปินทัศนศิลป์เข้ามาให้พิจารณามากพอสมควร เลขานุการคณะทำงานได้หาข้อมูลศิลปินทัศนศิลป์ทั้งที่ถูกเสนอชื่อและไม่ได้ถูกเสนอชื่อ แต่มีผลงานสอดคล้องกับรางวัลอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องบางท่าน รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

1) รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ศิลปินเกียรติยศ (HONORARY RED ART AWARD)
2) รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ทัศนศิลป์ดีเด่น (RED ART AWARD)

การพิจารณาในครั้งนี้ได้มุ่งเน้นสรรหาศิลปินทัศนศิลป์ที่อุทิศตนทุ่มเทชีวิตและจิตใจ เพื่ออุดมการณ์ศิลปะสันติภาพ ประชาธิปไตยความเป็นธรรมอย่างแท้จริง ในที่สุดเห็นควรมอบรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ศิลปินเกียรติยศ (HONORARY RED ART AWARD) ให้แก่ อาจารย์สุรพล ปัญญาวชิระ เพียงท่านเดียว ส่วนรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ทัศนศิลป์ดีเด่น (RED ART AWARD) ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
โดยจะมีการประกาศเชิดชูเกียรติและจัดแสดงนิทรรศการผลงานบางส่วนของศิลปินผู้ได้รับรางวัล ในวันเสาร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ นิทรรศการจัดแสดงถึง วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม